Hub หรือ Ethernet
hub, active hub, network hub, repeater hub, multiport
repeater ทั้งหมดนี้เรียกง่ายๆว่า
Hub และส่วน hub คืออะไร ? มันคืออุปกรณ์ network
อย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่
เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นใน network เข้าด้วยกันและสร้างมันจนเป็นระบบ network ลักษณะ hub คือมีช่อง input/output (I/O)
port หลายช่อง ไว้สำหรับรับส่งสัญญาณ
Hub ทำงานในระดับ Physical
layer (layer 1) ถ้าเทียบใน OSI model เช่น repeter hub ทำหน้าที่หลบเลี่ยงการชนกันของช่องสัญญาณ
และจัดการช่องสัญญาณให้กับทุก port
ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย Switch แล้ว
ยกเว้นระบบเก่าๆที่ติดตั้งมานานก่อนปี 2011
การใช้งาน Hub
1. การทำงานของ Physical
layer
Hub เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีความซับซ้อนถ้าเทียบกับ Switch เพราะการทำงาน เป็นเพียงแค่ repeater ที่มีหลาย port ทำงานโดย repeating bits ที่ได้รับจาก port
หนึ่งไปยังอีก port หนึ่ง โดยจะคอยตรวจสอบ packet ในระดับ physical layer ไม่ให้เกิดการชนกัน (Jam signal) ภายใน hub/repeater ไม่มี memory สำหรับเก็บข้อมูล โดย packet จะถูก retransmit ถ้าเกิด packet lost ก่อนที่ปลายทางจะได้รับ
2. เชื่อมต่อกันระหว่าง hub ด้วยกัน
เนื่องจากความสามารถในการตรวจสอบการชนกันของ
packet และ ขนาดของ network
ที่เชื่อมด้วย hub นั้นมีจำกัด (สำหรับ switch แล้วไม่มีข้อจำกัดนี้) ด้วยความเร็ว 10 Mb/s สามารถทำได้ด้วย hub
แต่สำหรับ 100 Mb/s ขึ้นไปค่อนข้างยากแล้ว ต้องเปลี่ยนไปใช้ switch แทน
4. Fast Ethernet
100 Mb/s hub และ repeater มีด้วยกัน 2 ระดับ (Class)
- Class I: สัญญาณ delay สูงสุด 140 bit (00Base-TX, 100Base-FX,
100Base-T4)
- Class II: สัญญาณ delay
สูงสุด 92
bit (ใช้ 2
hub ใน 1
domain)
5. Dual-speed hub
ก่อนหน้านี้ switch มีราคาแพง hun จึงถูกใช้งาน และ อุปกรณ์อื่นเองก็รองรับเพียงแค่ 10 Mb/s แต่ถ้ามีอุปรณ์ที่รองรับสูงกว่านั้น ก็จะใช้งานได้เพียง 10 Mb/s เช่นกัน จึงได้มีการคิดค้น dual-speed hub ที่ทำ bridge 10 Mb/s และ 100 Mb/s แยก port กันออกมา แต่ก็ยังคงเรียกว่า Hub เพราะ traffic ที่วิ่งกันยังเชื่อมต่อด้วย speed เท่าเดิม ไม่เหมือน switch
6. Gigabit Ethernet hub
มีการทำ repeater hub ในระดับ Gigabit Ethernet ออกมา แต่การตลาดของสินค้าไม่ประสบความสำเร็จ
เนื่องจากถูกแทนที่ด้วย Switch ไปเรียบร้อยแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น